ข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

Isometric Geometric 3d Objects And Lines
3D Light Bulb

การพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ศึกษานิเทศก์

3D Social Media Marketing
3D School Elements Composition Stacked Books and Apple
3d招聘人物插画-简历
Isometric Geometric 3d Objects And Lines
Minimalist UI Dropdown Menu Element

การพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่งศึกษานิเทศก์

Russian 3D Avant Garde Shapes Half Torus
label

ด้านการนิเทศการศึกษา

ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการออกแบบจัดทำ แผนการนิเทศการศึกษา การคัดสรรสร้าง พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี การปฏิบัติการนิเทศ การพัฒนางานวิชาการ การประสานงานกับหน่วยงาน สถานประกอบการ และการรายงานผลการนิเทศ

Next Arrow Button
Next Arrow Button

คำสั่ง สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ​ที่ 7/2567 เรื่อง การมอบหมายงานให้รับผิดชอบ​และปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงานราชการ ​และลูกจ้างชั่วคราว สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ​จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คําสั่ง สํานักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่ 90/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการการดําเนินงาน​ตามโครงการติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายเงินอุดหนุน

และติดตามการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชน ประจําปี​การศึกษา ๒๕๖๕ - ๒๕๖๗

3D Floating Element Light Bulb

งาน (Tasks)

  • ออกแบบจัดทำแผนการนิเทศการพัฒนาการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education)
  • พัฒนาคู่มือการนิเทศการพัฒนาการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education)
  • พัฒนาช่องทางการนิเทศการพัฒนาการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education)
  • ดำเนินการนิเทศการพัฒนาการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education)
  • พัฒนาองค์ความรู้ให้กับผู้รับการนิเทศ
  • ประเมินความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศ
  • สรุป รายงานผล

การพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่งศึกษานิเทศก์

Russian 3D Avant Garde Shapes Half Torus
label

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน การจัดการศึกษา

ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการวางแผน การส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการจัดการศึกษา การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ สถานศึกษา/หน่วยงานการศึกษา การติดตามประเมินผล การส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษา และการจัดทำรายงานสารสนเทศ

การจัดงานวันคล้ายวันสถาปนายุวกาชาดไทย ประจำปี 2566

การประกวดและแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 71 ปีการศึกษา 2566 ​ระดับเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มสาระ/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

Next Arrow Button
Next Arrow Button

การพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่งศึกษานิเทศก์

Russian 3D Avant Garde Shapes Half Torus
label

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ การเข้าร่วม แลกเปลี่ยน​เรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อปรับประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้และการจัดการศึกษา การนำความรู้ ความสามารถทักษะที่​ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน รวมถึงการ​พัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ที่มีผลต่อคุณภาพครูและผู้เรียน และเผยแพร่องค์ความรู้ ด้านการนิเทศการ​จัดการเรียนรู้และการจัดการศึกษา และบริการวิชาการแก่หน่วยงานการศึกษา หรือหน่วยงานต่าง ๆ

Next Arrow Button

Certificate เกียรติบัตร

การพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ

Next Arrow Button

ID PLAN แผนพัฒนาตนเองรายบุคคล ​(Individual Development Plan)

3D Floating Element Light Bulb

งาน (Tasks)

  • พัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถทักษะการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา พัฒนาสมรรถนะทาง​วิชาชีพศึกษานิเทศก์ และศึกษาวิธีการ กระบวนการนิเทศการศึกษาทั้งในไทยและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
  • พัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสตรีมศึกษา (STEAM Education) การจัดกิจกรรมยุวกาชาดระดับ ​2 และการบูรณาการการเรียนรู้ระหว่างการจัดกิจกรรมยุวกาชาดระดับ 2 กับสตรีมศึกษา
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ
  • นำความรู้ที่ได้มาพัฒนาการนิเทศการศึกษา
  • เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการนิเทศ

นิเทศ ติดตาม และประเมินผล

การจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education) สถานศึกษาเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ประเด็นท้าทาย

การพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ หรือการ​จัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วย​งานการศึกษา

Isometric Geometric 3d Objects And Lines

ประเด็นที่ท้าทาย เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือการ​พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในหน่วยงานการศึกษา ที่รับ​ผิดชอบของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ​ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา เพื่อให้เกิด ​การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับ การ​ปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)


Russian 3D Avant Garde Shapes Torus

ประเด็นท้าทาย เรื่อง คู่มือการนิเทศการศึกษา “การพัฒนาการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้​เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education)” ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

3D Floating Element Light Bulb

สภาพปัญหาของการจัดการเรียนรู้และการจัดการศึกษา

  • กิจกรรมยุวกาชาด เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนักเรียน ซึ่งมุ่งพัฒนาความมีระเบียบวิจัย ความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ความรับ​ผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การช่วยเหลือแบ่งปันเอื้ออาทรและสมานฉันท์ โดยจัดให้สอดคล้องกับความ​สามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ให้ได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน
  • ศึกษานิเทศก์ ได้ทำการศึกษาข้อมูลด้านการจัดกิจกรรมยุวกาชาดในสถานศึกษา พบว่า การจัดกิจกรรมยุวกาชาดมีแนวโน้มจะ​ลดความสำคัญลงเรื่อย ๆ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากกิจกรรมยุวกาชาดไม่ได้รับความสนใจจากผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารสถาน​ศึกษา ในขณะเดียวกันครูผู้สอนก็จัดกิจกรรมแบบเดิม ๆ จึงทำให้นักเรียนไม่สนใจในการปฏิบัติกิจกรรม
  • สตรีมศึกษา (STEAM Education) เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการ วิชาวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี ​(Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) ศิลปะ (Arts) และ คณิตศาสตร์ (Mathematics) เข้าด้วยกัน โดยมุ่งเน้นให้ผู้​เรียนเกิดองค์ความรู้และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาจนเกิดทักษะในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
  • ศึกษานิเทศก์เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่สอดคล้องกับความ​ต้องการของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ผ่านกระบวนการคิดของตนเอง (Child-Centered)
  • ดำเนินการพัฒนา “การจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education) ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัด​สุราษฎร์ธานี”
  • ดำเนินการพัฒนา “คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education)”
3D Floating Element Light Bulb

วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

  • สำรวจสภาพการจัดกิจกรรมยุวกาชาดระดับ 2 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • พัฒนาการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education) ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • พัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศการศึกษา “การพัฒนาการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM ​Education)” ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้แนวคิดกระบวนการนิเทศแบบ POLCA
  • พัฒนาช่องทางการนิเทศการศึกษา “การพัฒนาการจัดกิจกรรมยุวกาชาด โดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education)” ​ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีแบบออนไลน์
  • ดำเนินการนิเทศการศึกษา “การพัฒนาการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education)” ของ​โรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศการศึกษา “การพัฒนาการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา ​(STEAM Education)”
  • จัดทำรายงานผลการดำเนินการนิเทศการศึกษา “การพัฒนาการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM ​Education)”
3D Floating Element Light Bulb

ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

เชิงปริมาณ


  • ผู้เรียนในระดับช่วงชั้นที่ 2 ของโรงเรียนเอกชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความพึงพอใจต่อวิธีการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เท​คนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education) ของครูผู้สอน ร้อยละ 80
  • ผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการนิเทศการศึกษา “การพัฒนาการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM ​Education)” ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร้อยละ 80
  • สถานศึกษาเอกชน จังหวัดสุราษฎร์ธานีจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5
  • สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นต้นแบบในการจัดกิจกรรมยุวกาชาด​โดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5


เชิงคุณภาพ

  • ผู้เรียนในระดับช่วงชั้นที่ 2 ของโรงเรียนเอกชน มีความสนใจต่อการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM ​Education) โดยนักเรียนจะสามารถเรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง เกิดความรู้ ความเข้าใจ ผ่านขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติ​จริงควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะทางการคิด การตั้งคำถาม การสำรวจ การแก้ไขปัญหาและตรวจสอบปัญหา และนักเรียนจะ​สามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง
  • ผู้สอนมีเทคนิค วิธีการสอนใหม่ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาการเรียนรู้กิจกรรมยุวกาชาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ​ตรงตามเป้าหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2550
  • สถานศึกษาสามารถสร้างโอกาส และสนับสนุนให้ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถ และได้พัฒนาทักษะในการจัดกิจกรรมพัฒนา​ผู้เรียนให้มีความหลากหลายตามความสนใจของผู้เรียน นอกจากนี้สถานศึกษาจะมีโครงงาน/โครงการ/ ชิ้นงาน ที่สามารถนำ​ไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดขึ้นได้จริงในโรงเรียนและชุมชน
  • สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะมีคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศการศึกษา “การพัฒนาการจัดกิจกรรมยุวกาชาดโดย​ใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education)” ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และแนวทางการจัดกิจกรรมยุว​กาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education)
3D Floating Element Light Bulb

ตัวชี้วัด (Indicators)

  • ยุวกาชาดระดับ 2 สามารถสร้างเขียนโครงการ/ สร้างนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นได้ อย่างน้อย 3 ​โครงการ/นวัตกรรม ต่อปีการศึกษา
  • ร้อยละ 80 ยุวกาชาดระดับ 2 มีความสุขกับการเข้าร่วมกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM ​Education)
  • ร้อยละ 80 ยุวกาชาดระดับ 2 มีความสุขกับการเข้าร่วมกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM ​Education)
  • ร้อยละ 10 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดกิจกรรมยุวกาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM ​Education)
Next Arrow Button

REPORT ผลสำรวจสภาพและความต้องการการจัด​กิจกรรมยุวกาชาดระดับ 2 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Next Arrow Button

รายงาน การนิเทศการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมยุว​กาชาดโดยใช้เทคนิคสตรีมศึกษา (STEAM Education) ​ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี